บทเรียน


การบ้านครั้งที่ 1
1          1.   จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
-                   เทคโนโลยี หมายถึงการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
-                   สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
-                   เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสานสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
-                   ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกียวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน
-                   ฐานความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆ
           2.        โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1.             ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ
2.             ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งรียกว่าการควบคุมการดำเนินงาน
3.             ระดับที่สาม ดป็นการใช้คอมพิวเตอร์จำทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการจัดการ
4.             ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระหับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวงแผนกุลยุทธ์
3         3.   วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่าง
1.             ประยุกต์ประมาลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ช่วงนั้นคือเพื่อการคำนวณและการประมาลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง
2.             ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการ ควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร
3.             ระบบการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจ ในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4.             ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ๆของสินค้าและบริการรวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ


การบ้านครั้งที่ 2
1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้
           1. Hardwarเป็น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สาคัญ คือ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล และ อุปกรณ์แสดงผล
     §  ตัวอย่างเช่น เมาส์ แป้นพิมพ์  แทร็กบอล จอภาพ เป็นต้น
    2.Software เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง
     §  ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ เป็นต้น
 3. Peopleware  หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ
     §  ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการระบบ (System Manager)คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน ส่วนนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทาการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน เป็นต้น
              4. Data   คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
     §  ตัวอย่างเช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

              5. Information คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนาเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย
      §  ตัวย่างเช่น การสรุปจำนวนนักเรียนทุกชั้นเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในรูปแบบของกราฟเส้น เป็นต้น     

2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจจะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware ,Software และ  People ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ร้านขายของสะดวกซื้อ ซึ่งจะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มาใช้ ได้แก่
-                   Hardware เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นต้น เพราะจะได้นำมาใช้ในการอ่านราคาสินค้าในร้าน
-                   Software ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เพราะต้องมีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลสินค้าในร้าน และการคำนวณราคาสินค้า
       People ware เช่น โปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้ เป็นต้น เพราะในการใช้งานทั้ง Hardware และSoftware ต้องมี     โปรแกรมเมอร์ในการเขียนคำสั่ง มีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์
    3.ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ
ผลการเรียนนักเรียนนักเรียนชั้น ป.3
โรงเรียนระยองระยองพาณิชยการ
เลขที่
ชื่อ-สกุล
งานเดี่ยว
20
งานกลุ่ม
10
สอบกลางภาค
30
สอบปลายภาค
30
จิตพิสัย
10
คะแนนรวม
100
เกรด
1
ด.ช.กอบ อาจหาญ
16
8
29
28
9
90
B+
2
ด.ช.เก่ง คงกาง
19
7
20
17
8
71
C
3
ด.ญ.กุ้ง ใจดี
15
10
20
26
9
80
B
4
ด.ช.เอก แก้วกล้า
19
9
25
28
10
91
A
5
ด.ญ.กิ่งแก้ว มิ่งขวัญ
20
8
27
24
8
87
B+
6
ด.ญ.ดอกรัก ไมตรี
17
8
26
28
9
88
B+
7
ด.ญ.มะปราง สุขดี
16
7
23
29
9
84
B
8
ด.ช.ก้อง อุ้มแก้ว
19
10
22
26
9
86
B+
9
ด.ญ.ขวัญ โอบอ้อม
15
9
26
25
10
85
B
10
ด.ช.เกียรติชัย มากชัย
17
8
22
25
8
80
B
MAX
91
A
MIN
71
C
AVERAGE
84.2





การบ้านครั้งที่3
1.    ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
     เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
        1.1 การลงรหัส
        1.2 การตรวจสอบ
        1.3 การจำแนก
        1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น  มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
        2.1 การคำนวณ
        2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
        2.3 การสรุป
        2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์  เป็นต้น

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
ตอบ 
     บิต(Bit)
     หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
     เลขฐาน 2 คือ 0,1
     ไบต์(Byte)
     การนำบิตมารวมกัน
     เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร
     ฟิลด์(Field)
     การนำไบต์หลาย ๆ ไปมารวมกัน
     เรียกว่า เขตข้อมูล
     เรคอร์ด (Record)
     การนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน
     เรียกว่า ระเบียน
     ไฟล์ (File)
     การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน
     เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
     ฐานข้อมูล (Database)
     การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน
     เรียกว่า ฐานข้อมูล

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ แฟ้มข้อมูลรายชื่อพนักงาน แฟ้มข้อมูลประวัติการทำงาน แฟ้มข้อมูลการอบรม ระบบฐานข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อองค์กรคือ บริษัทสามารถเช็คข้อมูลได้ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการทราบว่าพนักงานคนนี้เป็นพนักงานของบริษัทหรือไม่

4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์
ตอบ  การประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์เป็นรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำการประมวลผลครั้งเดียว จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ เป็นการประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีแสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทางOutput เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ

การบ้านครั้งที่ 4
บทที่ 4 การสื่อสารข้้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์์
1.        สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ
ประเภท
ข้อดี
ข้อเสีย
สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน(Unshield Twisted Pair)
มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพ
สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน(Shield Twisted Pair)
มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ
ระยะทางจำกัด
สายโคแอคเชียล (Coaxial)
ป้องกันการสะท้อนกลับ
ส่งสัญญาณได้ไกลถึง  2 กม. 
ลดการรบกวนจากภายนอกได้ดี
ราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
1. ราคาแพง (High Cost)
2. การติดตั้งต่อสายยุ่งยาก (Difficulty Taps)
3. มีความไม่เชื่อถือจากผู้ใข้เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ (Fear of new technology)

2.            การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่่างไร
ตอบ   สามารถนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ ของหน่วยงาน องค์กร และบุคคลต่าง ๆ ที่ต้องการจะเผยแพร่ข่าวสารไปยังบุคคลอื่น ๆและสามารถนำงานที่อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ เหมือนกับว่าเป็นแฟ้มข้อมูลในเครื่องของตนเอง โดยสามารถทำการคัดลอก ลบ หรือถ่ายโอนมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง (download) หรือนำแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตนเองไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น (upload) เราอาจเรียกงานบริการนี้ว่า การถ่ายโอนข้อมูล (file transfer)
3.              หากนำระบบเครือ่ขายมาใช้ในองคก์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (LAN Topology)แบบใดเพราะอะไร
ตอบ   แบบ Wide Area Network เพราะองค์กรผมมีเครือข่ายองค์กรที่ต่างประเทศด้วย ต้องมีการส่งข้อมูล
และติดต่อสื่อสารกัน เพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป
4.              อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
ตอบ  การเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มีหนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสารระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้   การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด ความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้email หรือ discussion group 

การบ้านครั้งที่ 5
บทที่ 5
จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา

1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
             ตอบ   อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง  เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วยตัวอย่างเช่น นายเอกพันธ์ กุมมาน้อย อายุ 23 ปี ผู้ก่อเหตุได้ทำการแฮกข้อมูลบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยการทดลองคาดเดาพาสเวิร์ดของลูกค้าธนาคารที่ทำธุรกรรมการเงินทางระบบอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ เนื่องจากบุคคลทั่วไปที่ทำธุรกรรมการเงินมักจะใช้พาสเวิร์ดที่ค่อนข้างง่ายต่อการคาดเดา เช่น ใช้เลขเรียงหรือเลขตอง เมื่อแฮกข้อมูลบัญชีธนาคารได้แล้ว ก็จะทำธุรกรรมการเงินโดยการซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือและเติมเงินเกมส์ออนไลน์

2. อธิบายความหมายของ
             2.1 Hacker คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก จนถึงระดับที่สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง เช่น มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครือข่าย หรือองค์กร แล้วทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ
             2.2 Cracker คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลด้วยเจตนาร้าย crackerเมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่าง น้อยทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ
             2.3 สแปม คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )
             2.4 ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)

             2.5 สปายแวร์ คือ โปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนา แล้วเป็นผลให้สปายแวร์กระทำสิ่งต่อไปนี้ เช่น
          - อาจส่งหน้าต่างโฆษณาเล็กๆ ปรากฏขึ้นมา (ป๊อบอัพ) ขณะที่คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่
          - เมื่อคุณเปิดเว็บบราวเซอร์ เว็บบราวเซอร์จะทำการต่อตรงไปยังเว็บไซต์หลักของตัวสปายแวร์ที่ถูกตั้งค่าให้ลิ้งก์ไป
         - สปายแวร์อาจทำการติดตามเว็บไซต์ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชมบ่อยๆ
         - สปายแวร์บางเวอร์ชั่นที่มีลักษณะรุกรานระบบจะทำการติดตามค้นหา คีย์ หรือ รหัสผ่าน ที่คุณพิมพ์ลงไปเมื่อทำการ log in เข้าแอคเคาน์ต่างๆ

3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ...คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา ตัวอย่าง
ตอบ 
-กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอินเทอร์เน็ต
-กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
-กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
-กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
-กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
-กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

การกระทำผิดและบทลงโทษ
             มาตรา 44 ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตาม มาตรา 33 วรรคหนึ่ง หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการตาม มาตรา 33 วรรคหก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา
 45 ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม มาตรา 34 ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
             มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ           
             มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์  และข้อมูลคอมพิวเตอร์น้ันมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่ เกินหกหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ
             มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย  ทำลาย  แก้ไข  เปลี่ยนแปลง  หรือเพิ่มเติมไม่ว่าท้ังหมดหรือบางสวนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น